ปูนซีเมนต์ มีประวัติการใช้มายาวนานมากตั้งแต่ยุคก่อนพุทธกาลก็เริ่มค้นพบวัสดุประสานตัวนี้แล้วแต่การนำมาใช้กับอาคารขนาดใหญ่นั้นเริ่มต้นในยุคกรีกและโรมัน อย่างเช่น อาคารโคลีเซียม(COLISEUM)หรือวิหารพาเทนอน (DOME OF THE PATHEON) ในประเทศอิตาลีพัฒนาการของปูนซีเมนต์เริ่มเป็นการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมโดยชาวอังกฤษ เมื่อประมาณ 175 ปีก่อน จากนั้นก็มีการนำมาพัฒนาต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพราะคุณสมบัติที่ดีของปูนซีเมนต์ที่เมื่อผสมเป็นคอนกรีตแล้ว
สามารถหล่อขึ้นรูปได้ตามรูปแบบที่ต้องการ มีความทนทานสูง ทนไฟได้ดี และไม่ไหม้ ที่สำคัญ คือ มีราคา
ถูก เมื่อเทียบกับวัสดุอื่นจากการพัฒนาให้ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุเชื่อมประสานที่ดีมีคุณภาพทำให้เกิดแตกแยกการใช้ปูนซีเมนต์เป็นชนิด ต่าง ๆ ที่มีความเหมาะสมในการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน ตามมาตรฐานทั่วไปแบ่งออกเป็นปูนซีเมนต์ 5ประเภท ดังนี้ประเภทที่ 1 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ธรรมดาประเภทที่ 2 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ดัดแปลงประเภทที่ 3 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทให้กำลังอัดเร็วประเภทที่ 4 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทเกิดความร้อนต่ำประเภทที่ 5 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภททนซัลเฟตได้สูงแต่ ชนิดของปูนซีเมนต์ที่ใช้ในกิจกรรมก่อสร้างทั่วไปที่พบเห็นในประเทศไทยจะเป็นชนิดที่ทำการผลิตได้ในประเทศมี 3 ชนิดหลัก คือประเภทที่ 1 จัดเป็นชนิดพื้นฐานที่นำไปใช้แพร่หลายมากที่สุดด้วยคุณสมบัติที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานที่ดีและเมื่อผสมเป็นคอนกรีตจะได้คอนกรีตที่มีคุณภาพรับแรงได้ดี มีหลายยี่ห้อ หลายเครื่องหมายการค้า เช่น ตราช้าง ตราเพชร ตรา TPI แดง ตราพญานาคเขียว ตราภูเขา โดยนอกจากจะใช้นำไปผสมเป็นคอนกรีตใช้ในงานโครงสร้างหลักของอาคาร ยังมีการนำไปเป็นวัสดุพื้นฐานในการผลิตวัสดุผลิตภัณฑ์อื่นๆด้วยประเภทที่ 3 พวกนี้จะใช้ในการนำไปผสมเป็นคอนกรีตที่ต้องการใช้งานเร็วกว่าปกติ เพื่อให้ทำการก่อสร้างได้เร็วขึ้น ถอดไม้แบบได้เร็วแต่ต้องดูแลการบ่มคอนกรีตให้ดีเป็นพิเศษด้วย เช่น ตราเอราวัณ ตราสามเพชร ตรา TPT ดำ ตราพญานาคแดงประเภทที่ 5 ซึ่งก็บอกอยู่แล้วว่าเค้าทนซัลเฟต คงมีคำถามว่าแล้วเจ้าซัลเฟตนี้คืออะไรก็ต้องตอบแบบกำปั้นทุบดินว่าเป็นเคมีที่มีอยู่ในธรรมชาติซึ่งมีผลที่กัดกร่อนคอนกรีตปกติได้ดี ทำให้อายุของอาคารสั้นลงโดยเจ้าซัลเฟตนี้บริเวณที่มีมากจนเป็นอันตรายกับโครงสร้างอาคารคอนกรีต ได้แก่ บริเวณริมทะเลหรือ บริเวณน้ำกร่อยทั่วไปทางวิศวกรและสถาปนิกจะย้ำให้ใช้ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 5 นี้แทนเจ้าพวก 2 ประเภทแรก เช่น ตราช้างสีน้ำเงิน(ฟ้า) ตรา TPI น้ำเงิน ตราปลาฉลาม